1. ป.วิ.อ. มาตรา 5(2)
               1. บุพการี หมายถึง บุพการีตามความเป็นจริง (ฎีกาที่ 1384/2516 ประชุมใหญ่)
               2. ผู้สืบสันดาน หมายถึง ผู้สืบสันดานตามความ เป็นจริง (ฎีกาที่ 303/2497 ประชุมใหญ่) 3. สามีภรรยาชอบด้วยกฎหมาย (ฎีกาที่ 1335/2494)
               4. บุตรบุญธรรม ไม่ใช่ผู้สืบสันดาน (ฎีกาที่ 956/2509)

2.มาตรา 456 วรรคสอง สัญญาจะซื้อจะขาย
               สัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาซื้อขายที่ยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่มีเจตนาว่า วันหนึ่งจะไปจดทะเบียน
               เงื่อนไขจะไปจดทะเบียน สัญญานี้เรียกว่า สัญญาจะซื้อขาย
               สัญญาจะซื้อขายมีเฉพาะกรณีซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์พิเศษ

3.ล้มละลาย
               ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หมายความว่า ลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน
               ข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว จะต้องเป็นข้อเท็จจริงต่างๆที่มีอยู่แล้วในเวลาที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลาย(ฎีกาที่ 798/2553)
               ข้อสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เช่น
                              1. ก่อนฟ้องโจทก์ได้ตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต แต่ไม่พบทรัพย์สินของจำเลย(ฎีกาที่ 7602/2553, 8775/2557, 10781/2558, 2836/2560)
                              2. จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่จำเลยไม่ชำระ(ฎีกาที่ 6605/2560)

4.ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง
               คำว่า "ไม่บริบูรณ์" หมายความว่า ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิ ไม่อาจใช้ยันต่อบุคคลภายนอกได้ แต่ระหว่างคู่สัญญายังคงมีผลผูกพันบังคับกันได้ในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ(ฎีกาที่ 2539/2549)

5.ขอให้เรียกลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนตามมาตรา 688
               เมื่อลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ยังไม่มีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 688 ที่ว่า “เมื่อเจ้าหนี้ทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะขอให้เรียกลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนก็ได้...” เจ้าหนี้จะฟ้องผู้ค้ำประกันได้จะต้องดำเนินการตามมาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่ก่อน คือ มีหนังบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกัน และไม่ว่ากรณีใด ๆ จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนหนังสือบอกกล่าว “ไปถึง” ผู้ค้ำประกันไม่ได้
               ถ้าบอกกล่าวเกิน 60 วัน ตามมาตรา 686 ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ย และหนี้อุปกรณ์อื่น ๆ เฉพาะที่เกิดขึ้นภายหลังพ้นเวลา 60 วัน ดังกล่าว เช่น ดอกเบี้ยก่อนฟ้อง เป็นต้น
               เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเป็นคดีเดียวกันได้(มาตรา 689) แต่ศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระจึงจะให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทน

อ้างอิง
ปัญญา ถนอมรอด. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด, 2560.
หนังสือรวมคำบรรยายเนติบัณฑิตยสภา ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562
หนังสือรวมคำบรรยายเนติบัณฑิตยสภา ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562