การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย กรณีบิดาตาย

§  วิธีการฟ้อง ต้องคำเป็นคำร้องขอ ดูฎีกาที่ ๖๐๒๐/๒๕๔๙, ๒๖๙๘/๒๕๓๖

               ฎีกาที่ ๖๐๒๐/๒๕๔๙ ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ร้องจนมีบุตรด้วยกันคือ เด็กชาย จ. และผู้ตายให้ความอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย จ. กับได้แสดงต่อมารดาญาติพี่น้องและบุตรผู้ตายรวมทั้งคนอื่นว่า เด็กชาย จ. เป็นบุตรของตนอีกคนหนึ่ง ถือว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๕๕ (๗) แล้ว ผู้ร้องมีสิทธิฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายไปเสียก่อน ผู้ร้องจึงย่อมมีสิทธิร้องเป็นคดีนี้ได้

               ฎีกาที่ ๒๖๙๘/๒๕๓๖ ผู้ตายได้ทำบันทึกมีข้อความระบุว่า ผู้ร้องยินยอมรับเงินจำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท เป็นค่าทดแทนกรณีที่ผู้ร้องมีบุตรกับผู้ตาย โดยผู้ร้องลงลายมือชื่อในฐานะผู้ให้สัญญา ส่วนผู้ตายลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับสัญญา บันทึกดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเอกสารของผู้ตายที่ยอมรับว่าเด็กหญิง ม. เป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๕๕(๓) ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ม. จึงมีสิทธิยื่นคำร้องให้ศาลมีคำสั่งว่าเด็กหญิง ม. เป็นบุตรของผู้ตายได้

 

               หมายเหตุ เด็กชาย จ. ธ. โดยนาง ธ. ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้ร้อง

Ø ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน( มาตรา ๑๕๕๕๖ วรรคหนึ่ง )

Ø ถ้าเด็กอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์ เด็กต้องฟ้องเอง( มาตรา ๑๕๕๖ วรรคสอง )

 

§  เหตุในการฟ้อง

                              ๑. เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน( มาตรา ๑๕๕๕(๓) )

                              ๒. เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น( มาตรา ๑๕๕๕(๔) )

                              ๓. เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร( มาตรา ๑๕๕๕(๗) )

                             

Ø เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน

                              เช่น บันทึกการยอมรับว่าเด็กเป็นบุตรต่อผู้บังคับบัญชา(ฎีกาที่ ๒๖๙๘/๒๕๓๖)

 

Ø เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น

                              เช่น ปรากฏหลักฐานทางสูติบัตรและทะเบียนสำมะโนครัวว่าผู้เยาว์เป็นบุตร(ฎีกาที่ ๓๗๒/๒๕๑๐)

 

Ø เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร

                              เช่น บิดาให้การศึกษา ให้ความอุปการะเลี้ยงดู หรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตน(ฎีกาที่ ๑๔๓/๒๕๒๔)